ทานผักให้ถูก...5 เรื่องที่เราเข้าใจผิดๆ ถูกๆ เกี่ยวกับการทานผัก

ทานผักให้ถูก…5 เรื่องที่เราเข้าใจผิดๆ ถูกๆ เกี่ยวกับการทานผัก

ใครๆ ก็ทราบดีว่า การทานผักนั้นให้ประโยชน์มากมายกับร่างกาย เคล็ดลับและความรู้เกี่ยวกับเรื่องผัก ๆ จึงมีมาให้เราได้ยินอยู่เสมอ แต่รู้หรือไม่ครับว่า บางสิ่งบางอย่างที่เราได้ยินได้ฟัง และได้รับรู้ต่อ ๆ กันมา เกี่ยวกับการทานผักนั้น มันมีทั้งความเชื่อ และความจริงปะปนกันอยู่ มาดูกันครับว่า เราเข้าใจอะไรผิด ๆ หรือถูก ๆ เกี่ยวกับเรื่องผัก ๆ กันอยู่บ้าง

ความเชื่อ: การทานผักสด ได้ประโยชน์มากกว่าทานผักปรุงสุก

ความจริง: ความเชื่อเรื่องการรับประทานผักสดแล้วได้ประโยชน์ มากกว่ารับประทานผักปรุงสุกนั่น ถูกต้องนะครับ แต่ถูกต้องเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะผักแต่ละชนิดมีความพิเศษในการสะท้อนคุณค่าทางอาหารที่แตกต่างกันครับ

ผักบางชนิดเราจึงรับประทานแบบสด ๆ เช่น กรีนโอ๊ค กรีนคอส แตงกวา ในขณะที่ผักบางชนิดเมื่อนำมาปรุงสุกแล้ว จะให้คุณค่าทางอาหารที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น มะเขือเทศที่ปรุงสุกจะให้สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ไลโคปีน มากกว่ามะเขือเทศแบบสด หรือ ผักโขมที่ปรุงสุกจะช่วยเพิ่มแร่ธาตุอย่างเหล็ก แคลเซียม และแมกนีเซียมได้มากขึ้น สรุปแล้ว ไม่ว่าจะทานผักสดหรือผักปรุงสุกต่างก็ให้คุณค่าในทางโภชนาการได้เช่นครับ

ความเชื่อ: การทานวิตามิน และอาหารเสริม สามารถทดแทนประโยชน์จากผักได้ทั้งหมด

ความจริง: ในยุคที่มีโรคภัยไข้เจ็บที่มีความรุนแรงขึ้น ผู้คนส่วนใหญ่จึงหันมาใส่ใจสุขภาพ บางคนเลือกรับประทานอาหารเสริมและวิตามินบำรุงร่างกายกันหลายขนาน โดยคิดว่าจะช่วยทดแทนผักสดได้ดีกว่าเพราะโฆษณากันว่ามีสารสกัดเข้มข้น

แต่ในความเป็นจริงร่างกายคนปกติไม่ได้ต้องการสารอาหารจำพวกวิตามินและเกลือแร่ที่มากเกินไป หากร่างกายได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณมากเกินจนเสียสมดุล ร่างกายจะมีกระบวนการขับออก เช่น ทำให้ท้องเสีย เป็นต้น

การรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยวัน 400 กรัม และหลากหลายชนิด ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้วครับ

สรุปแล้ว เราควรรับประทานอาหารหลัก 5 หมู่ ให้ครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสมดีกว่าครับ เพราะจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และปลอดภัยต่อสุขภาพอีกด้วย

ความเชื่อ: ดื่มน้ำผัก ก็เหมือนกินผัก

ความจริง: กระแสการดื่มน้ำผักเพื่อสุขภาพกำลังได้ความนิยม เพราะรับประทานง่าย ไม่ซำซากจำเจ และปรับรสชาติได้ง่ายด้วยการผสมกับน้ำผลไม้

แต่อย่าลืมนะครับว่าเมื่อผสมกับน้ำผลไม้ที่คั้นมาจะมีน้ำตาลในปริมาณสูงขึ้น จึงควรระมัดระวังในการบริโภคเพื่อสุขภาพ รวมทั้งกากใยอาหารในผัก และผลไม้จะสูญหายไปเป็นจำนวนมากในระหว่างการคั้นหรือการสกัดอีกด้วย

สรุปคือ ถ้าจะดื่มน้ำผักควรดื่มเพียงวันละ 1 แก้ว และรับประทานผักสด หรือผักปรุงสุกในมื้ออาหารให้เพียงพอดีกว่าครับ

ความเชื่อ: ผักแช่แข็ง ไม่เหลือคุณค่าทางอาหารอีกแล้ว

ความจริง: ผักแช่แข็ง หรือผักฟรีซ ถือเป็นหนึ่งในการถนอมอาหารที่มีมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในเขตภูมิอากาศแบบอาร์คติกที่อยู่ภายใต้อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี

ในปัจจุบันมีงานวิจัยยืนยันแล้วว่าผักแช่แข็งยังคงคุณค่าทางอาหารไว้ได้อย่างครบถ้วน และสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าการแช่ผักสดในตู้เย็นแบบทั่วไป เพราะฉะนั้น ความเชื่อที่ว่าผักแช่แข็งไม่มีคุณค่าทางอาหารนั่น ไม่เป็นความจริงนะครับ

ความเชื่อ: กินผักวันละ 200 กรัม ลดความเสี่ยงหัวใจขาดเลือด

ความจริง: การรับประทานผักวันละ 200 กรัม และผลไม้อีกอย่างน้อยวันละ 200 กรัม นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงหัวใจขาดเลือดได้แล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชนิดอื่น ๆ ด้วยนะครับ เช่น มะเร็งลำไส้

เพราะผักและผลไม้มีใยอาหารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ เพิ่มการขับถ่ายให้ดีขึ้น หรือเส้นเลือดในสมองตีบ เพราะผักช่วยลดคอเลสเตอรอล และลดการดูดซึมไขมันได้ เราจึงควรรับประทานผักและผลไม้ให้ได้อย่างน้อยวันละ 400 กรัมนะครับ

สรุป

เป็นยังไงกันบ้างครับกับความเชื่อและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการทานผักที่เรานำมาฝากกัน เชื่อเลยว่าหลาย ๆ คนอ่านแล้วอาจจะต้องมีร้อง อ้าว หรือ อ๋อกันบ้างแน่ ๆ สำหรับใครที่ยังมีความเชื่อผิดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทานผักในลักษณะนี้ เมื่อทราบข้อเท็จจริงและทำความเข้าใจกันดีแล้วแล้วอย่าลืมกินผักให้ถูกวิธีกันด้วยนะครับ

บทความอื่นๆ

มัดรวมวิธีล้างผักและผลไม้แบบถูกวิธี สะอาดหมดจด พร้อมรับประทาน - Feature Image

วิธีล้างผักและผลไม้แบบถูกวิธี สะอาดหมดจด พร้อมทาน

บทความนี้เราได้มัดรวมวิธีล้างผักและผลไม้แบบถูกวิธี ให้สะอาดหมดจด ปราศจากสารพิษ รวมถึงวิธีการที่ไม่แนะนำในการล้างผักก่อนทานมาฝากทุก ๆ คนครับ

อ่านต่อ »
4 วิธีแก้ท้องผูกถ่ายยาก ที่คนท้องผูกต้องอ่าน - featured image

4 วิธีแก้ท้องผูกถ่ายยาก ที่คนท้องผูกต้องอ่าน

เชื่อว่าเคยท้องผูกกันทุกคน ยิ่งมีอาการท้องผูกถ่ายยากด้วย ยิ่งไม่แฮปปี้ไปกันใหญ่ บทความนี้ เรามาดูกันว่าอเมื่อมีอาการท้องผูกแล้ว มีวิธีแก้ท้องผูกถ่ายยากอย่างไรครับ

อ่านต่อ »
เลือกกินผักอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ - Feature Image

เลือกกินผักอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

คำสำคัญมันอยู่ตรงคำว่า “เลือก” ไม่ว่าจะเลือกซื้อหรือเลือกกินก็ต้องเลือกอย่างถูกวิธี คราวนี้เราลองมาดูซิว่า เราควรเลือกกินผักอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

อ่านต่อ »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า