รวมความเข้าใจเรื่องผัก ที่เรามักเข้าใจผิด - Feautred image

รวมความเข้าใจเรื่องผัก ที่เรามักเข้าใจผิด ทีนี้แหละจะได้เข้าใจถูก

เพื่อช่วยคุณ ๆ ลดเรื่องยุ่งยากใจในการเลือกผักดี ๆ มาทาน Urban Farming รวบรวมความเข้าใจเรื่องผัก ที่เรามักเข้าใจผิดมาฝากกันครับ

อยากทานผักเยอะ ๆ เพื่อสุขภาพที่ดี นอกจากเสิร์ชกูเกิ้ล ไถโซเซียลดูเมนูผัก ๆ น่าทานไว้มากมายแล้ว หลายคนก็คงจะกำลังวุ่นวายอยู่กับการคัดเลือกวัตถุดิบ จะทานผักแบบไหนดีนะ ผักออร์แกนิค ผักปลอดสารพิษ หรือจะผักไฮโดรโปนิกส์ บางคนก็บอกว่าผักแบบนั้นดีกว่า คิดอยู่นานก็เลยพาลไม่ได้ทานผักกันสักทีใช่ไหมล่ะครับ

แล้วความเข้าใจผิดเรื่องผัก มีอะไรบ้าง ตรงกับความเข้าใจของคุณอยู่บ้างรึเปล่า ลองอ่านกันดูครับ

ความเข้าใจเรื่องผัก #1: ผักปลอดสารพิษ เหมือนกันกับผักออร์แกนิค

ถ้าพูดกันภาษาชาวบ้านทั่วไป พวกเราทุกคนที่รักสุขภาพ มีความต้องการอยากจะทานผักที่ปลอดภัยสำหรับร่างกาย นั่นก็หมายถึงผักที่ทานเข้าไป ไม่ควรจะปนเปื้อนด้วยสารเคมีที่ใช้ในการปลูกนั่นเอง

ไม่แปลกที่เราจะเฟ้นหาผักที่ปลอดภัยมาทาน ซึ่งผักปลอดภัยที่เรารู้จักในตลาดของพืชผักก็มี ผักปลอดสารพิษ และผักออร์แกนิคหรือผักอินทรีย์นั่นเองครับ หลายคนจึงเข้าใจว่าผักสองชนิดนี้เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผักปลอดสารพิษ และผักออร์แกนิคที่ส่วนที่แตกต่างกันอยู่มากพอสมควรครับ

ผักปลอดสารพิษ คือผลผลิตทางการเกษตรพรือพืชผัก ที่ปลอดจากสารปนเปื้อนหรือพบสารปนเปื้อน (สารเคมีนั่นแหละครับ) ได้บ้าง ในระดับที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพ เช่น อาจจะปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยากำจัดศัตรูพืชเคมีบ้าง แต่ในระยะเวลาที่ส่งมอบผลผลิตให้กับผู้บริโภคนั้น พืชผักได้ปลอดจากสารพิษที่จะส่งผลต่อสุขภาพของเราแล้ว จึงนับเป็นผักปลอดภัยอย่างหนึ่งครับ

ส่วนผักออร์แกนิคนั้น มีระดับความเข้มข้นของความปลอดภัยมากกว่าผักปลอดสารพิษค่อนข้างมาก เพราะผักออร์แกนิค หรือที่เรารู้จักกันดีว่า “ผักเกษตรอินทรีย์” คือพืชผักที่ได้มาจากกระบวนการผลิตที่ถูกควบคุมไม่ให้มีการปนเปื้อนของสารเคมี หรือเคมีสังเคราะห์ในทุก ๆ ขั้นตอนการผลิต ผักออร์แกนิคจึงเป็นผักที่มีความปลอดภัยและให้สารอาหารจากธรรมชาติสูง ซึ่งแน่นอนว่าจะมีต้นทุนในการผลิตสูงกว่าผักทั่วไปด้วย

ความเข้าใจเรื่องผัก #2: “ผักสลัด” ทุกชนิดคือผักไฮโดรโปนิกส์

สาวที่ชอบทานสลัดหลายคน เข้าใจว่าผักสลัดที่เราพบเห็นกันทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นกรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค หรืออื่น ๆ คือผักไฮโดรโปนิกส์ เหมารวมกันไปอะไร ๆ ก็ไฮโดรโปนิกส์ไว้ก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่เลยครับ

ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) เป็นวิธีการในการปลูกพืชแบบไร้ดินครับ ผักที่ปลูกด้วยวิธีนี้จะได้รับสารธาตุอาหารผ่านทางน้ำ ซึ่งสารธาตุอาหารก็คือปุ๋ยเคมีนั่นแหละครับ โดยรากจะดูดซึมเพื่อไปสร้างการเจริญเติบโตให้กับส่วนต่าง ๆ ของพืช เมื่อครบกำหนดที่พืชเติบโต และปลอดภัยจากการตกค้างของเคมีที่ใช้ ก็ถึงเวลาเก็บเกี่ยว

ดังนั้น ผักสลัดที่เราเห็น ๆ กันในท้องตลาด จึงไม่ใช่ผักไฮโดรโปนิกส์เสมอไปครับ บางฟาร์มก็มีผักสลัดที่ปลูกในดินแบบออร์แกนิค เช่น Urban Farming ของเราครับ

ความเข้าใจเรื่องผัก #3: “ผักไฮโดรโปนิกส์” ทุกชนิด ทุกที่ ปลอดภัย

“ผักไฮโดรโปนิกส์” เป็นผักที่ปลอดภัยแน่นอนใช่หรือเปล่า ต้องขอตอบว่า ขึ้นอยู่กับฟาร์มที่ผลิตครับ

เพราะอย่างที่บอกไปโดยกระบวนการในการปลูกพืชแบบไร้ดินนั้น หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้สารธาตุอาหารแบบเคมี ดังนั้น การตกค้างของสารเคมีในพืช โดยเฉพาะการตกค้างของสารไนเตรตจากปุ๋ยเคมีก็อาจจะเกิดขึ้นได้ หากฟาร์มที่ดูแลไม่มีมาตรฐานเพียงพอ

“ผักไฮโดรโปนิกส์” ที่ปลอดภัยจะต้องมาจากฟาร์มที่มีมาตรฐานในการควบคุมระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่เหมาะสมทุกวัน ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตและสังเคราะห์แสงเป็นปกติ ซึ่งโอกาสที่จะเกิดการสะสมสารเคมีจนถึงระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคไม่น่าเกิดขึ้น ผักสลัดที่ได้ก็จะปลอดภัย ปลอดจากสารพิษตกค้างในผักอย่างแน่นอนครับ

ผักแช่แข็ง

ความเข้าใจเรื่องผัก #4: “ผักแช่แข็ง” ไม่มีประโยชน์ ปนเปื้อนด้วยสารกันบูด

ผักแช่แข็ง เป็นทางเลือกหนึ่งของคนชอบทานผัก อยากทานผักแต่ไม่มีเวลาในการเลือกซื้อผักสดมาทาน คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า “ผักแช่แข็ง” น่าจะไม่ค่อยมีประโยชน์สักเท่าไหร่ แค่ได้ยินคำว่า “แช่แข็ง” ก็รู้สึกไม่ค่อยปลอดภัย ไม่ค่อยมีประโยชน์เสียแล้ว

นี่เป็นความเข้าใจผิดอย่างมากครับ เพราะโลกของเราเดินทางมาถึงยุคที่เทคโนโลยีต่าง ๆ สามารถคงความสดใหม่ และคงสารอาหารของผักผลไม้ไว้ได้ด้วยกระบวนการถนอมอาหารผ่านเครื่องช็อกอุณหภูมิผัก (Blast Freezer) เพื่อให้ผักถึงจุดเยือกแข็งภายในเวลาอันสั้น หยุดยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้ผักไม่เน่าเสีย แต่คงคุณภาพรวมถึงสารอาหารไว้ได้ใกล้เคียงกับผักสดที่นำมาประกอบอาหาร ในบางกรณีผักแช่แข็งยังให้สารอาหารมากกว่าผักสดที่ไม่สดเสียอีกครับ

ส่วนใครที่คิดว่าผักแช่แข็งต้องปนเปื้อนด้วยสารกันบูดนั้น ผักแช่งแข็ง ใช้กระบวนการลดอุณหภูมิอย่างฉับพลัน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ใช้ความเย็นเท่านั้นครับในการจัดการกับผักสด ไม่ได้ใช้สารกันบูดใด ๆ เลย แตกต่างจากอาหารแปรรูปทั่วไป

ดังนั้น ถ้าเราไม่สะดวกที่จะหาผักสดติดบ้านไว้ทาน การเลือกทานผักแช่แข็ง (ที่ได้มาตรฐาน) เป็นทางเลือกที่ดี แน่นอนครับ

สรุป

และทั้งหมดนั้นคือความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องผัก ๆ ที่หลายคนยังเข้าใจผิด และทำให้ชีวิตยุ่งยากในการเลือกหาผักดี ๆ ที่ปลอดภัยมาติดบ้านไว้ทาน

รู้อย่างนี้แล้ว ลดความกังวลใจในเรื่องผัก แล้วเลือกซื้อผักที่ตอบโจทย์กับชีวิตเรามาติดบ้านไว้ทาน เพื่อสุขภาพที่ดีกันครับ  และถ้ายังไม่ทราบว่าจะเลือกผักดี ๆ เมนูผักน่าทานได้จากที่ไหน Urban Farming  เรามีทั้งผักสดพร้อมปรุง ผักสลัดพร้อมทาน ทั้งแบบออร์แกนิคและไฮโดรโปนิกส์ สำหรับผู้ที่ยุ่งจากกิจวัตรประจำวัน แต่อยากมีสุขภาพที่ดีและยังมีเวลาเหลือสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ ครับ

แหล่งข้อมูล
Urban Farming
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

บทความอื่นๆ

ผักปั่น

ผักปั่น: ทางเลือกเพื่อสุขภาพสำหรับคนรักผัก

ทานผักจนเบื่อผัก แต่จะไม่ทานก็ไม่ได้ มันเหมือนขาดอะไรไป ใครมีอาการแบบนี้บ้างครับ สำหรับใครที่อยากทานผักแต่เบื่อๆ เมนูผักใบสด หรืออาจจะไม่สะดวกเคี้ยว เมนูผักปั่นเป็นอีกหนึ่งเมนูทางเลือกที่ Urban Farming อยากจะแนะนำเลยครับ

อ่านต่อ »
ผัก Lettuce 9 ชนิดที่สายเฮลตี้ต้องรู้จัก

ผัก Lettuce 9 ชนิดพร้อมคุณประโยชน์ที่สายเฮลตี้ต้องรู้จัก

ผัก Lettuce นิยมนำมาบริโภคกันในปัจจุบันก็มีอยู่หลายชนิด ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับผัก Lettuce ชนิดต่าง ๆ พร้อมกับคุณประโยชน์ของผักแต่ละชนิดกัน

อ่านต่อ »
ผักสลัดคอส เมนูผักจากโปรดจาก Urban Farming

ผักสลัดคอส เมนูผักโปรดจากเออร์บัน ฟาร์มมิ่ง

สำหรับผู้ที่เริ่มต้นรับประทานผักสลัด แต่ยังไม่รู้จะลองทานผักสลัดชนิดไหนดี Urban Farming จะมาแนะนำหนึ่งในผักสลัดที่ได้รับความนิยมนำมาประกอบอาหาร นั่นก็คือผักสลัดคอส หรือกรีนคอสนั่นเอง และเชื่อได้เลยว่าสำหรับใครที่ชื่นชอบการทานสลัดผัก จะต้องคุ้นเคยกับเจ้าผักสลัดคอสเป็นอย่างดีแน่นอน

อ่านต่อ »

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า